จำหน่าย Xenon สำหรับรถทุกรุ่น เพื่ออัตเกรด และเพิ่มทัศนะวิสัยในการขับขี่ในยามค่ำคืน


จำหน่ายพร้อมติดตั้ง ซีนอล คุณภาพดีเกรด A พร้อมรับประกัน

H1 H3 H4 H7 H11 H12 HB3 HB4 D2R, D4C

ชุดละ 2800 บาท และ 3200 บาท สำหรับ ชุดสไลค์ สูงต่ำซีนอล
( ราคาพร้อมติดตั้ง กทมใ และปริมณฑล พร้อมประกัน 1 ปี )
ลูกค้าต่างจังหวัดส่ง EMS พร้อมวิธีติดตั้ง พิเศษ ซื้อหลายชุดราคาส่ง

ความรู้เกี่ยวกับ ซีนอล

มาทำความเข้าใจเจ้า XENON ก่อนคิดตัดสินใจติดตั้งก่อนดีกว่านะครับ เพราะหลายคนโทรมาถามเกี่ยวกับข้อมูลการทำงานของ XENON เลยอยากอธิบายแบบฟันธงตรงไปตรงมาและให้ได้เข้าใจถึงหลักการทำงานของมันก่อนตัดสินใจติดตั้งรวมทั้งเป็นไกด์ให้นะครับ!!

--หลอด XENON เป็นหลอดที่ทำงานเหมือนไฟแฟลชถ่ายรูปคนที่เล่นกล้องจะทราบระบบการทำงานดี แสงสว่างเกิดจากการอาร์คไฟข้ามขั้ว(ขั้วห่างกันประมาณ5 mm) ผ่านแก๊ซแรงดันสูง(2 bar)ส่วนผสมในหลอดมีหลายอย่างมาก ต้องมี แก๊ซ XENON ปรอทและไอปรอทเพื่อสร้างลำอาร์คความต้านทานต่ำ- ความร้อนสูง,sodium,scandium,lithium,thallium halides(iodine+bromine)เพื่อสร้างแสงสว่างสุดท้าย และเพื่อให้แสงที่ออกมามีคลื่นกระจายแสงครบถ้วน(full spectrum)หลอด ดีๆแพงๆ จะใช้ ก๊าซ XENON เป็นตัวจุดอาร์ค แต่ถ้าหลอดถูกๆ จะใช้แก๊ซนีออนหรืออาร์กอน(argon)
แรงดันสูงเป็นตัวจุดอาร์ค(เห็นไหมครับหลอดมีหลายเกรด หลอด XENON แท้ๆ ราคาไม่ถูกนะครับ นอกจากมีส่วนผสมอย่างอื่นมากกว่า XENON)

--หลอดที่ใช้อาร์กอนเป็นตัวจุดอาร์ค แสงสว่างที่ใช้ได้(usable light output)จะออกมาค่อนข้างช้า ประมาณ 2- 3 วินาที และมีค่า LUMENS ต่ำประมาณ ไม่เกิน 1000 LUMENS(ค่า LUMENS คือค่าความสว่างของแสง ที่สวนทางกับค่า KEVIN หรือค่าอุณหภูมิสี ยิ่ง ค่า KEVIN สูง ค่า LUMENS ยิ่งต่ำนะครับ)ส่วนมากหลอดที่มีค่า K เกิน 10000K จะจุดอาร์คด้วยก๊าซอาร์กอน จึงได้แค่สีสวยๆแต่ให้ความสว่างที่ไม่ดี บริษัทใหญ่ๆเช่น PHILIPS OSRAM HELLA ผลิตหลอด XENON ค่า K สูงสุดแค่ 6000K ไม่กล้าที่จะผลิตค่า K สูงกว่านี้เพราะกลัวถูกฟ้องเนื่องจาก XENON จะต้องแสงสว่างกว่าหลอด HALOGEN ที่ใช้ในรถยนต์ของเราประมาณ 3-4 เท่า โดยปกติหลอด HALOGEN ที่มากับรถ จะมีค่า K ประมาณ 2,800-3,200 KEVIN และให้ความสว่างอยู่ที่ 1,000-1,200 LUMENS แต่สำหรับหลอด XENON สามารถให้ความสว่างได้ถึง 3,500 LUMENS เลยทีเดียว แต่ค่า K ต้องไม่เกิน 6,000 K นะครับ อันนี้ผมก็ชี้เป็นทางเลือกให้พี่ๆเห็นชัดว่า ถ้าพี่ๆอยากให้ไฟหน้ารถสว่างใช้งานได้จริง ก็เลือกค่า K ไม่เกิน 6000K แต่ถ้าเลือกค่า K สูงกว่านี้ ก็ได้แค่สวยแต่แสงสว่างที่ได้ก็ไม่ได้ต่างจากหลอด HALOGEN เลยครับได้แค่แสงจร้าๆ จากไอปรอทกับอาร์กอนแค่นั้นเองเพราะมีส่วนผสมของ XENON แท้ๆน้อยนิด

--ส่วนหลอด XENON แท้ๆ ดีๆ ที่ใช้ก๊าซ XENON/KRYPTON เป็นตัวสร้างอาร์คจะให้แสงสว่างที่ใช้ได้ภายใน 1 วินาทีเท่านั้น และให้แสงสว่างที่มากกว่าหลอด HALOGEN ถึง 3 เท่าทีเดียว ความสว่างสูงสุดประมาณ 3,500 LUMENS (หลอดHalogenที่ติดมากับรถเป็นหลอดจะมีใสใช้พลังงานความร้อนในการสร้างแสงสว่างซึ่งเป็นแสงสีแดง)(หลอด XENON ไม่มีใส้ แต่ใช้แรงดันก๊าซจะใช้เป็นส่วนผสมของหลอดเป็นตัวจุดอาร์ค และให้แสงสว่างสีขาวอมฟ้าก่อนสำหรับอาร์คแรก และจะเปลี่ยนสีไปตามค่า K ภายหลัง)แรงดันก๊าซภายในหลอดเมื่อหลอดติด จะสูงถึง 20-30 bar ส่วนแรงดันไฟฟ้าที่จะจุดหลอดติด ต้องเล่นกันถึง 15kV สูงกว่าไฟฟ้าที่อยู่บนเสาไฟอีกนะครับ ถ้าหลอดไม่ดี แรงดันไม่พอ ก็จะเสียเร็วครับ

ทำไมบาลลาสท์ดีๆถึงราคาแพง?

--Ballast ดีๆเริ่มต้นทำงานโดยดึงพลังงานไฟฟ้ามาจากแบตเตอรี่ 12000-20000 โวลท์(สูงกว่าไฟที่อาร์คที่หัวเทียน)และจ่ายไฟไปที่หลอดเพื่อใช้จุด XENON โดยปกติแล้วแก๊ซหรืออากาศจะมีความต้านทานไฟฟ้าสูงมากๆ แทบจะหาจุดจบไม่ได้หรือเป็นร้อยๆล้านโอห์ม ยิ่งแก๊ซในหลอด XENON มีแรงดันสูง จึงจำเป็นต้องใช้กระแสไฟสูงๆเพื่อให้ไฟมันกระโดดข้ามกันได้ครับ หน้าที่ของบาลลาสท์คือแปลงแรงดันไฟจากแบต 12 volts ให้สูง 20000 volts
เพื่อการสร้างลำอารค เมื่ออาร์คติดแล้ว บาลลาสท์จะต้องลดแรงดันให้เหลือ 100-200 volt เท่านั้นเพราะลำอาร์คมีความต้านทานต่ำไม่เกิน 100 โอห์ม
เมื่อลำอาร์คเสถียรปุ๊บ และให้แสงสว่างเต็มที่แล้ว ความต้านทานจากบาลลาสท์ก็จะลดลงอีก เพราะไม่อย่างนั้น บาลลาสท์ไหม้แน่ๆเพราะทนแรงต้านทานไม่ไหว การทำงานทุกอย่างที่กล่าวมายืดยาวนี้ต้องเสร็จภายใน 1 วินาที นั่นคือสาเหตุที่บาลลาสท์ดีๆทำไมถึงแพง!!

--Ballast ดีๆให้แรงดันจุดอาร์คประมาณ 19-20 kV!!แรงจุดอาร์คจะเป็นพัลส์ ใช้การจุดที่ถี่มากๆจนกว่าลำอาร์คจะเสถียร ดังนั้นบาลลาสท์เน่าๆถูกๆ
จุดอาร์คได้ 2-3 ทีก็ล่มแล้วค่ะเพราะสู้แรงต้านทานหลอดไม่ไหว เรี่ยวแรงมีไม่พอเหมือนคนไม่ได้กินข้าว อดๆอยากๆ ต่อนะครับบาลลาสท์ดีๆเมื่ออาร์คติด
ก็ต้องจ่ายไฟต่อเนื่องและสม่ำเสมอ คราวนี้ไม่ได้จ่ายเป็นพัลส์แล้ว ต้องจ่ายไฟประมาณ 450-500 โวลท์อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาลำอาร์คไห้ร้อนเอาไว้
เพราะถ้าลำอาร์คร้อนไม่นานพอ พวก ปรอทและ metal halide ที่ช่วยในการสร้างลำอาร์คจะไม่ระเหยเป็นไอ เมื่อพวก MH ระเหยเป็นไอ ลำอาร์คจะนำกระแสไฟได้ดีมากๆๆ จากนั้นลำอาร์คก็จะเหมือนเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแล้วค่ะ ตัวที่นำกระแสไฟฟ้าตรงนี้ก็คือไอโลหะที่มีความต้านทานต่ำมาก ถ้าไม่จำกัดกระแสผ่านไอโลหะ ไม่หลอดบึ๊มส์...ก็บาลลาสท์บึ้มส์...(ระเบิดจริงๆนะครับ)จากนั้นบาลลาสท์จะลดแรงดันให้เหลือประมาณ 16-20 volt และต้องจ่ายไฟให้ได้ 1.5-2amp

--พลังงานที่บาลลาสท์จะต้องจ่ายไฟนิ่งสนิทที่ 35 watt (มากกว่านี้ไม่ได้ น้อยกว่านี้ก็ไม่ได้ ต้องเป๊ะๆ) โดยแรงดัน(P หรือกระแสแรงคูณดัน)ต้องจ่ายได้ตั้งแต่ 16-20v(กระแส 2 A ในกรณีปกติ)ถึง 100v ถ้าลำอาร์คไม่เสถียรอาจจ่ายกระแสไฟแค่ 0.5v
ถ้าบาลลาสท์จ่ายไฟไม่นิ่ง และหลอดมีแรงดันไม่พอ ความต้านทานไม่พอ ก็จะเสีย (นี่แหล่ะครับคือสาเหตุที่บาลลาสท์ดีๆ ราคาไม่ถูกอย่างที่คิด)

XENON ต้องใช้ไฟสลับนะครับ ส่วนไฟตรงก็ใช้ได้แต่ใช้ได้ไม่นาน เพราะถ้าใช้นานๆ สนามไฟฟ้า DC แรงๆ,แก้วร้อนๆ,เกลือ alkaline ทำให้เกิด electrolysis หลอดเสื่อมกันพอดี

กฎหมายจราจรเกี่ยวกับไฟ



ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522มาตรา ๑๑

ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถหรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายใน
ระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางต้องเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างตามประเภท
ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ส่วนรายละเอียด ต้องดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 2(พ.ศ.2522) ออกตามความ พ.ร.บ.จราจรฯ ตามนี้ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/A/095/3.PDF
ข้อ ๑ รถทุกชนิดที่อยู่ในความควบคุมของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ต้องมีโคมไฟตามประเภทและลักษณะที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ข้อ ๒ รถยนต์ต้องมีโคมไฟหน้ารถและโคมไฟท้ายรถ ดังต่อไปนี้
(๑) โคมไฟหน้ารถมี ๓ ประเภท คือ
(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล ให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวงสูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า ๐.๖๐ เมตร แต่ไม่เกิน ๑.๓๕ เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกันใช้ไฟแสงขาวมีกำลัง
ไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ ๕๐ วัตต์ มีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร
ศูนย์รวมแสงต้องไม่สูงกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบ และไม่เฉไปทางขวา ในกรณีที่เป็นรถยนตร์สามล้อ
ให้ใช้โคมไฟประเภทนี้เพียงดวงเดียวโดยติดไว้ที่กลางหน้ารถ
(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ ให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวง สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า ๐.๖๐ เมตร แต่ไม่เกิน ๑.๓๕ เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกันใช้ไฟแสงขาวมีกำลังไฟ เท่ากันไม่เกินดวงละ ๕๐ วัตต์ มีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร
ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า ๒ องศา หรือ ๐.๒๐ เมตร ในระยะ ๗.๕๐ เมตร และไม่เฉไปทางขวา ในกรณีที่เป็นรถยนตร์สามล้อให้ใช้โคมไฟประเภทนี้เพียงดวงเดียว
โดยติดไว้ที่กลางหน้ารถ
(ค) โคมไฟเล็ก ให้ติดหน้ารถอย่างน้อยข้างละหนึ่งดวง โดยให้อยู่ด้านริมสุดแต่จะล้ำเข้ามาได้ไม่เกิน ๐.๔๐ เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลือง มีกำลังไฟเท่ากันไม่เกิน ดวงละ ๑๐ วัตต์ และต้องมีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้จากระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตรโคมไฟแสงพุ่งไกล โคมไฟแสงพุ่งต่ำ และโคมไฟเล็ก จะรวมอยู่ในดวงเดียวกันก็ได้
(๒) โคมไฟท้ายรถ มี ๓ ประเภท คือ
(ก) โคมไฟท้าย ให้ติดท้ายรถอย่างน้อยข้างละหนึ่งดวง โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงแดดมีกำลังไฟเท่ากัน และมีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้จากระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร
(ข) โคมไฟหยุด ให้ติดท้ายรถอย่างน้อยข้างละหนึ่งดวง โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงแดดมีกำลังไฟเท่ากันและมีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้จากระยะไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร
มีกฎกระทรวงตามออกมาทีหลัง ให้มีดวงกลางเพิ่มได้อีก 1 ดวง ตามนี้ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/A/061/1.PDF
(ค) โคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ ให้ติดท้ายรถ ใช้ไฟแสงขาวส่องที่ป้ายทะเบียนรถมีแสงสว่างสามารถ
มองเห็นเครื่องหมายหรือตัวอักษรและตัวเลขได้ชัดเจนจากระยะไม่น้อยกว่า๒๐ เมตร แต่ต้องมีที่บังมิให้แสง
พุ่งออกไปทางท้ายรถโคมไฟท้าย โคมไฟหยุด และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถต้องส่องแสงสว่างพร้อมกับ
โคมไฟหน้ารถ แต่โคมไฟหยุดต้องส่องแสงสว่าง เมื่อใช้ห้ามล้อเท้าเพราะฉะนั้นแล้วถ้าหากคุณติดไฟซีนอนที่มีสีขาวออกเหลืองจนถึงขาวปกติ แล้วตั้งระดับไฟตามที่กฎหมาย
กำหนด ก็ไม่น่าที่จะผิดกฏหมายข้อไหน